ขนาดและพิกัดของท่อพีวีซี

ผู้ผลิตและร้านขายท่อพีวีซีอาจจะได้รับคำถามสุดปวดหัวจากลูกค้าหลายๆเจ้าว่าทำไมสเปกของท่อทั้งความหนา เส้นผ่าศูนย์กลาง และชั้นความดันถึงมีเยอะเหลือเกิน แถมบางทีก็ไม่ได้เข้าใจได้ง่ายๆด้วย วันนี้เราจะมาลองดูกันว่าความหลากหลายของท่อพีวีซีนั้นทีอะไรบ้างและที่สำคัญความแตกต่างพวกนี้มันเกิดมาจากอะไรกันนี้ ใครหรอช่างคิดระบบพวกนี้ออกมาให้คนไทยเรางงจนปวดหัว

ท่อพีวีซีเป็นสินค้าที่ผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเพราะฉะนั้นผู้ใช้อย่างผู้รับเหมาก็ไม่สามารถระบุขนาดสินค้าได้อย่างอิสระ ในประเทศไทย มาตรฐาน ขนาด และ ความหนาของท่อพีวีซีจะเป็นไปตามอุตสาหกรรมรมกำหนดดังนี้

เส้นผ่าศูนย์กลางของท่อและความหนา

หลายคนที่เคยใช้ไม้บรรทัดวัดขนาดท่อพีวีซีอาจจะสงสัยว่าทำไมท่อที่เขียนว่า 2นิ้ว ถึงมีขนาดใหญ่กว่าตัวเลขที่เขียน ไม่ว่าจะ 2.38นิ้วหรืออย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้แปลว่าคุณวัดขนาดท่อผิดหรือผู้ผลิตนำสินค้าไม่ได้มาตรฐานแต่อย่างได แต่ว่าตัวเลขไซส์ท่อที่เขียนไว้นั้นเค้าเรียกว่า ท่อขนาดระบุ (nominal pipe size – NPS)

การที่จะอธิบายเรื่องนี้อาจจะต้องย้อนความกันซักหน่อย ท่อพีวีซีเรียกได้ว่าเป็นวัสดุก่อสร้างที่วิวัฒนาการมาจากท่อเหล็กและด้วยเหตุผลนี้เองก็ทำให้มาตรฐานของท่อเหล็กสมัยก่อนได้ถูกนำมาใช้กับท่อพีวีซีด้วย

ใช่แล้วครับ มาตรฐานการจัดขนาดท่อพีวีซีเป็นหลักนิ้วนั้นมาจากการใช้วัดท่อเหล็กนั่นเอง แต่เรื่องของสเปกท่อพีวีซียังไม่จบแค่นี้ ภายหลังในอุตสาหกรรมท่อพีวีซีสำหรับการประปาได้มีการนำเรื่องแรงดันน้ำเข้ามาด้วย ทำให้รูปแบบของท่อกลายเป็นมีทั้งเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก และมาตรฐานความหนาภายใน (ที่เกี่ยวกับแรงดันน้ำ) ด้วย

ด้วยการที่ท่อพีวีซีถูกค้นพบขึ้นมาเกินห้าสิบหกสิบปีแล้ว แถมยังถูกมีการใช้งานในหลากหลายประเทศทั่วโลก ทำให้มีความหลากหลายในการใช้งานอย่างมากและทำให้มีมาตรฐานในการใช้งานเยอะขึ้นพอๆกัน แน่นอนว่าสำหรับอุตสาหกรรมใหญ่ๆอย่างการก่อสร้างหากไม่มีมาตรฐานอะไรเลยระบบก่อสร้างคงพังทั่วโลกแน่ๆ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตจะทำอย่างนึง ผู้ใช้จะทำอีกอย่าง รัฐบาลก็อยากได้อีกอย่าง งงกันตายเลยหลังจากที่แก้กันไปมาหลายครั้งก็ได้มีการระบุขนาดและเส้นผ่าศูนย์กลางที่ชัดเจนมากขึ้นเหมือนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นการวัดท่อด้วยขนาดระบุแทน (nominal pipe size – NPS) ซึ่งหมายความว่าเป็นรหัสภายในที่ไว้ใช้กันในอุตสาหกรรมมากกว่าตัวเลขจริงๆ โดยที่ขนาดท่อแบบระบุของสีฟ้าสำหรับการประปาจะเริ่มที่ 4 หุน หรือ ½” และของท่อสีเหลือง (ท่อร้อยสายไฟ) จะเริ่มที่ 2 หุน หรือ ¼” นั่นเอง

ขนาดของท่อจริงใช้เป็นหลักนิ้วแทน แต่จริงๆแล้วความหนาเส้นผ่าศูนย์กลางระบุ (Diameter nominal – DN) และความหนาของท่อจะใช้เป็นหน่วย มิลลิเมตรและเมตรแทน เช่นท่อที่มีความหนาภายนอก 3 มิลลิเมตรและความยาว 4 เมตรเป็นต้นซึ่งก็จะคล้ายกับท่อเหล็กที่มี NPS และ DN เหมือนกัน

ความดันของท่อพีวีซี

อย่างที่ได้อธิบายในส่วนที่แล้วก็คือชั้นของท่อ หรือที่หลายๆคนอาจจะเรียกว่าความหนาบางนั้นจริงๆมาจากความสามารถในการรับแรงดันน้ำ ตามมาตรฐานของ ASME/ANSI B16.5 ได้ระบุความดันของอุปกรณ์พวกนี้ไว้ในหน่วย คลาส (class) หรือว่าชั้นของท่อนั้นเอง โดยที่ชั้นของท่อพวกนี้ส่วนมากก็จะอยู่ที่ 125 150 300 400 600 900 และ 1500 PSI (PSI เป็นหน่วยความดันเช่นความดันน้ำ) แน่นอนว่าเพื่อที่จะรับแรงดันน้ำให้ได้มากขึ้น ท่อที่มีคลาสเยอะก็จะมีความหนามากตาม แต่สาเหตุที่เราวัดด้วยตัวเลขคลาสเพราะเราจำเป็นต้องคำนึงถึงหลายๆอย่างที่ไม่สามารถวัดด้วยตาเปล่าได้เช่นคุณภาพของเรซิ่นพีวีซีหรือวัตถุดิบต่างๆที่เข้าไปในท่อด้วย เพราะบางเจ้าอาจจะใช้เคมีที่คุณภาพแย่กว่าทำให้ตัวท่อมีความหนามากแต่กลับรับแรงดันไม่ได้นั่นเอง สรุปก็คือการวัดด้วยแรงดันน้ำนั้นอาจจะเข้าใจยากกว่าการวัดด้วยขนาดหนาบางเป็นมิลแต่มันตรงกับการใช้งานมากกว่า เพราะฉะนั้นเวลาเราไปหาซื้อท่อหากถามหาแต่ความหนาของท่อ บางทีเราอาจจะได้ท่อมาไม่ถูกสเปกก็ได้ ยิ่งพวกที่หาท่อบางๆ บางทีอาจจะได้สินค้าท่อพีวีซีแบบเกษตรแทนที่จะเป็นท่อพีวีซีแบบมี มอก. อยากให้ผู้อ่านเข้าใจว่าท่อจะหนาจะบางยังไงก็หาอันที่มีคุณภาพไว้ก่อนนะครับ

หวังว่าทีนี้ผู้อ่านจะได้รับความรู้เกี่ยวกับขนาดและความดันของท่อพีวีซีมากขึ้น ต่อไปนี้หากวัดขนาดและสเปกสินค้าเองก็คงจะไม่งงเท่าเมื่อก่อนอีกต่อไปแล้ว เพราะต่อให้ขนาดที่เราวัดเองไม่ตรงกับขนาดที่ช่างระบุมาเราก็คงจะเข้าใจได้ว่าตัวเลขนั้นเป็นแค่รหัสของท่อขนาดระบุ (nominal pipe size – NPS) และชั้นของท่อเป็นตัววัดแรงดันน้ำไม่ใช่ความหนาของท่อพีวีซี ส่วนเรื่องการนำกระแสไฟฟ้าของท่อพีวีซีร้อยสายไฟนั้นไว้คราวหน้าจะมาเขียนอธิบายให้ฟังอีกทีครับ

สำหรับลูกค้าที่อยากจะลองคำนวณดูว่าสินค้าท่อพีวีซีแต่ละขนาดมีราคารวมเท่าไร สามารถดูราคาสินค้าและส่วนลดขายส่งได้ที่ รายการสินค้า Price List และ ส่วนลด หรือติดต่อให้ทางวีไลน์ทำราคาให้ได้ที่ ติดต่อเรา