17 เรื่องท่อพีวีซีที่ช่างประปาควรรู้

ความรู้เกี่ยวกับการใช้ท่อพีวีซีนั้นมีประโยชน์มากเพราะสามารถช่วยประหยัดได้ทั้งเวลาและเงินในหลายๆโอกาส แต่ทว่าความรู้ทั่วไปพวกนี้กลับหาได้ยากเพราะไม่ได้ถูกสอนในโรงเรียน หวังว่าสิบเจ็ดเรื่องท่อพีวีซีที่ทุกคนควรรู้จะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

  1. ท่อพีวีซี (PVC) กับท่อซีพีวีซี (cPVC)ไม่เหมือนกัน

หากเราไม่สามารถตอบผู้ขายได้ว่าเราอยากได้ท่อPVC แบบไหนก็อาจจะโชคร้ายซื้อท่อมาผิดก็ได้ หากเราอยากจะลดความเสี่ยงที่จะซื้อท่อผิดชนิดก็จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าในกับรูปแบบงานที่เราต้องการก่อน

2. ท่อซีทีวีซี (cPVC) ใช้เดินน้ำร้อน

ช่างประปาจะถนัดในการเดินงานน้ำประปาทั่วไปและน้ำเย็นด้วยท่อพีวีซีและงานน้ำร้อนเช่นสำหรับเครื่องล้างจารและเครื่องซักผ้าด้วยท่อซีพีวีซี (cPVC)

3. ท่อซีพีวีซี (cPVC) มีหน่วยวัดไม่เหมือนกัน

อย่างที่รู้กันว่าท่อพีวีซีนั้นวัดขนาดท่อจากเส้นผ่านศูนย์กลางข้างในเป็นหน่วยนิ้ว แต่ท่อซีพีวีซีวัดขนาดจากเส้นผ่านศูนย์กลางด้านนอก หากคุณกลัวว่าจะซิ้อสินค้าผิดก็ควรที่จะนำท่อตัวอย่างไปร้านวัสดุก่อสร้างเพื่อที่จะวัดขนาดกับสินค้าตัวจริงในร้านได้เลย เพราะถ้าเรามีสินค้าตัวอย่างแล้วพนักงานในร้านวัสดุก่อสร้างสามารถแนะนำสินค้าให้ได้แน่นอน

4. ท่อพีวีซียังมีอีกหลากหลายชนิด

ใม่ใช่แค่ท่อพีวีซีสำหรับน้ำร้อนและน้ำประปาทั่วไปแต่ยังมีท่อพีวีซีสำหรับร้อยสายไฟและสำหรับท่อน้ำเสียและน้ำทิ้งอีกด้วย ท่อน้ำประปาจะมีชั้นความดันไว้บ่งบอกถึงความดันน้ำที่ตัวท่อรับได้ ส่วนท่อร้อยสายไฟและท่อน้ำทิ้งก็จะมีไว้ใช้งานเฉพาะทางของตัวเองเช่นกัน

5. มีดตัดท่อ

ถึงท่อพีวีซีจะมีหลายชนิดแต่ตัวมีดตัดท่อสามารถใช้ตัดท่อได้ทุกแบบ แต่เวลาใช้ของมีคมก็ควรจะระวังหน่อย หากไม่ได้มีประสบการณ์ก็ควรที่จะหาช่างทำให้ หากไปซื้อร้านขายปลีกบางเจ้าก็รับตัดท่อพีวีซีให้นะ

6. นอกจากตัวท่อแล้ว สินค้าสำหรับท่อพีวีซีก็มีหลากหลายเช่นกัน

ความงงคงไม่ได้จบแค่เรื่องท่อแน่ๆ เพราะท่อพีวีซียังมีสินค้าเสริมอีกหลายอย่างเช่นกาวเชื่อมท่อ ท่อบางชนิดก็ต้องใช้กาวแบบพิเศษเพราะฉะนั้นคุณต้องรู้จักทั้งชนิดท่อและกาวด้วยนะ

7. ไพรเมอร์รองพื้นประสานกาว

สำหรับงานต่อท่อด้วยกาวแบบระเอียดนั้น บางครั้งเราก็ต้องใช้ไพรเมอร์หรือรองพื้นประสานกาวก่อน กาวไพรเมอร์มีไว้เพื่อเก็บขอบและช่วยให้ตืดแน่นทนนานกว่าปกติ ซึ่งบางครั้งผู้ตรวจระบบท่อก็จะต้องตรวจด้วยว่าช่างได้ใช้ไพรเมอร์หรือเปล่า

8. วาล์วน้ำก็มีประโยชน์

ไม่ว่าจะเป็นในห้องครัว ห้องน้ำ หรือพื้นที่อื่นในบ้าน การมีวาล์วน้ำนั้นมีประโยชน์มากๆ บางคนอาจจะเป็นคิดว่าการใช้วาล์วน้ำนั้นสิ้นเปลืองแต่ว่าจริงๆแล้ววาล์วสามารถช่วยทำให้งานประปาสะดวกสบายมากขึ้นโดยเฉพาะเวลาที่เราต้องปิดระบบน้ำเฉพาะจุดในบ้านแทนที่จะต้องปิดระบบน้ำทั้งบ้าน ยกตัวอย่างเช่นเวลาที่ต้องเปลี่ยนระบบประปาตรงอ่างน้ำเราก็ไม่จำเป็นต้องปิดระบบประปาที่อื่นเพื่อที่จะอาบน้ำล้างมือทำความสะอาดตัว

9. การตรวจระบบประปา

การตรวจระบบประปาเป็นงานที่มีรายละเอียดพอสมควร ช่างบางคนอาจจะมีวิธีทำระบบท่อไม่เหมือนกันซึ่งผู้ตรวจก็ควรที่จะตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่ทำถูกต้อง

10. การตรวจระบบประปา

ท่อระบายน้ำในห้องน้ำควรจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2” และระบบท่อที่เชื่อมก็ควรจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่านี้จนไปถึงระบบประปากลางในบ้าน

11. ระบบระบายน้ำจากห้องส้วม

ระบบระบายน้ำจากห้องส้วมจะมีข้อจำกัดน้อยกว่าเพราะว่าขนาดสามารถใช้ 3” ถึง 4” ได้ แน่นอนว่าขนาดที่ใหญ่ก็ย่อมดีกว่าเพราะจะทำให้มีปัญหาในการอุดตันได้น้อยกว่า

12. ท่อระบายอากาศ

ท่อระบายอากาศก็จำเป็นสำหรับห้องน้ำห้องส้วมในบ้านเช่นกัน ทุกห้องส้วมจำเป็นที่จะมีท่อระบายอากาศยกเว้นบางครั้งที่จะมีห้องส้วมหลายห้องเชื่อมกันซึ่งในกรณีนี้สามารถใช้ท่อระบายอากาศเส้นเดียวกันได้

13. คลีนเอ้าท์ก็สำคัญ

ห้องน้ำก็ต้องมีคลีนเอ้าท์เพื่อความสะดวกของช่างประปาในการทำความสะอาดเวลาท่อตัน แต่ละห้องก็ควรจะมีคลีนเอ้าท์เป็นของตัวเองเช่นกัน

14. ท่อ P-Trap

ท่อระบายน้ำแบบ P-Trap เหมาะสำหรับอ่างล้างหน้าและห้องน้ำเพราะ P-Trap สามารถถอดออกมาได้เพื่อเปลี่ยนและทำความสะอาดเวลามีสิ่งอุดตัน วิธีทำก็ง่ายๆคือถอดท่อออกมาแล้วก็ล้างและทำความสะอาดข้างใน

15. แรงดันน้ำต่ำ

เวลาฝักบัวหรือก๊อกน้ำมีปัญหาแรงดันต่ำนั่นอาจจะเป็นเพราะว่ามีการรั่วซึมหรือมีการอุดตัน ซึ่งเป็นปัญหาหลักของการวางระบบประปาในบ้านและการทำDIY บ้านและสวนเลยทีเดียว

16. ค่าประปาที่สูงขึ้น

ค่าประปาที่อยู่ดีๆก็สูงขึ้นโดยไม่มีสาเหตุย่อมมาจากการที่ห้องน้ำมีการรั่วซึมหรือจากชักโครกที่มีน้ำไหลตลอดเวลา เพราะโดยรวมแล้วค่าประปาส่วนมากจะมาจากการใช้น้ำในห้องน้ำ

17. ชักโครกที่มีน้ำไหลตลอด

ชักโครกที่ไหลไม่หยุดส่วนมากจะมากจากการที่ลูกยากในชักโครกเสีย ลูกยางสามารถหาเปลี่ยนได้ง่ายๆตามร้านค้าต่างๆในราคาที่ไม่แพงเลย แถมวิธีการเปลี่ยนก็ไม่ได้ยากด้วยใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที

หวังว่าความรู้ต่างๆไม่ว่าจะเกี่ยวกับวิธีการใช้ท่อ ชนิดของข้อต่อและอุปกรณ์ท่อพีวีซีต่างๆ หรือแม้กระทั่งวิธีดูแลระบบประปาในบ้านและห้องน้ำจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเกี่ยวกับท่อพีวีซีมากขึ้น ทุกคนสามารถดูตัวอย่างอุปกรณ์พีวีซีชนิดต่างๆได้ที่ แคตตาล็อก ราคาท่อพีวีซี